เล่นเอาซะผมแปลกใจมากจนต้องหยุดฟังว่ามันเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร
เพราะผมทำงานสำเร็จมาหลาย project โดยคิดเสมอว่าผมจะต้องพยายามทำงานให้ดีที่สุด เพื่อส่งมอบงานที่ผมสู้อุตส่าห์เพียรพยายามทำมาอย่างเต็มที่จนงานเสร็จสมบูรณ์ไปให้ถึงมือลูกค้าให้ได้เร็วที่สุด
ผมใช้เวลานั่งคิดทบทวนอยู่นานก็ยังไม่เข้าใจวิธีคิดของวิทยากรท่านนั้นอยู่ดี จะถามก็อาย จะทิ้งไว้เฉยๆ ก็กลัวว่าจะไม่มีวันได้รู้ความจริงผมจึงตัดสินใจรวบรวมความกล้าทั้งหมดที่มี เอ่ยปากถามไปว่า
"ถ้าทำงานให้ไม่เสร็จ หรือส่งงานที่ไม่เรียบร้อยแล้วลูกค้าจะยอมรับงานหรือครับ แล้วถ้าส่งมอบงานไม่ได้ ผมก็ไม่มีตังส์กินข้าวสิครับ"
วิทยากรท่านนั้นจึงหันมายิ้มแล้วบอกกับผมต่อไปว่า
"งานที่จบคืองานที่ไม่มีอนาคต เวลาเราที่คิดเรื่องการพัฒนา software ขึ้นมา เราต้องคิดไว้เสมอว่า เราจะต่อยอดของมันออกไปอย่างไร หรือจะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร และเมื่อไรถึงเวลาที่เราควรจะต้องลงมือทำมันต่อ"
ผมถึงกับร้องอ๋อ ทำไมผมถึงไม่ได้มองในมุมนี้นะ ผมคิดแค่ว่าจะทำงานที่ดีที่สุดให้ลูกค้า แต่การคิดงานที่ดีที่สุด คือ การวางแผนและทิศทางให้ project เติบโตในอนาคตได้อย่างสง่างาม ผลิดอก ออกผลให้ลูกค้าของเราได้ชื่นชม เพราะลูกค้าไม่ได้ต้องการงานจากเรา แต่ลูกค้าต้องการให้เราช่วยทำให้ธุรกิจของเขาประสบความสำเร็จ
นับจากวันนั้นเป็นต้นมา ผมก็เปลี่ยนมุมมองความคิดในการทำงานใหม่
เพื่อให้ได้โซลูชั่นที่ดีกว่าในเวลาที่มีอยู่จำกัด พร้อมทั้งคิดต่อยอดให้กับ project เสมอ เช่น การพัฒนา project เว็บไซต์ขึ้นมาเว็บหนึ่ง ผมจะมองตั้งแต่เว็บนี้ทำเพื่อใคร
(ขอย้ำว่าไม่ได้ทำเพื่อลูกค้าที่สั่งซื้องานนะครับ แต่จะมองที่เป้าหมายของลูกค้าของเราอีกทีว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายผู้ชายหรือ ผู้หญิง lifestyle เป็นอย่างไร ใช้อุปกรณ์อะไรในการเข้าสู่เว็บ เป็นต้น)
เพราะการจะสื่อสารข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนั้น จะทำโดยการเอา resource ที่ได้จากลูกค้ามายัดเยียดให้คนอ่านคงไม่ได้
ผมต้องศึกษาคู่แข่ง เพื่อดูว่าเค้าทำอะไรกันบ้างแล้ว อะไรดีเราก็นำมาประยุกต์ใช้ อะไรที่เราเห็นว่าคู่แข่งยังไม่มี เราก็จะได้ทำเสริมเข้าไป เพื่อให้เกิดความแตกต่างที่ได้เปรียบ
การแบ่งเฟสการทำงานนั้นจะช่วยให้เราสามารถต่อเติมส่วนต่างๆ ที่จำเป็นเหมือนการต่อจิ๊กซอที่เราไม่สามารถเอาทุกชิ้นมาต่อกันได้ในคราวเดียว ฉันใดก็ฉันนั้นเราไม่สามารถให้ความสำคัญในทุกๆ เรื่องพร้อมกันได้ทั้งหมด
เราจึงจำเป็นที่จะต้องทยอยทำจากสิ่งที่สำคัญมากที่สุดไปสู่สิ่งที่สำคัญน้อยที่สุด แต่เราต้องมีเป้าหมายของแต่ละเฟสที่ชัดเจน เพื่อให้ project เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง และทุกๆ เฟสของการพัฒนาจะยิ่งทำให้เว็บไซต์มีความสามารถที่สูงขึ้น มีเนื้อหาที่ตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และที่สำคัญคือลูกค้าที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ตัวจริงจะรู้สึกยินดีกับความ สำเร็จที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ เฟสของการพัฒนา project ด้วย
ดูผลงานที่ผ่านมาของเรา คลิ๊กที่นี่