10 ข้อควรทำ ก่อนเริ่มทำธุรกิจออนไลน์ และ เว็บไซต์ e-Commerce

1 สิงหาคม 2559
10 Checklist ควรทำ ก่อนเริ่มทำ ธุรกิจ e-commerce

ในปี 2016 คาดว่าจะมีผู้คนกว่า 200 ล้านคน จากทั่วโลกที่ช็อปปิ้งออนไลน์ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ธุรกิจจำนวนมากหันมาให้ความสำคัญต่อเว็บไซต์ e-Commerce และช่องทางการขายสินค้าออนไลน์อย่างจริงจังมากเป็นประวัติการณ์ และนั่นก็เป็นลางบอกเหตุที่ดีว่า ถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องเริ่มต้นทำ ธุรกิจ e-Commerce ได้แล้ว


วันนี้ผมจึงขอเสนอ เรื่อง 10 ข้อควรปฏิบัติเมื่อคุณจะเริ่มต้นทำ ธุรกิจ e-Commerce

  1. ชื่อธุรกิจ/ชื่อแบรนด์ ต้องเรียกง่าย จำง่าย และสื่อถึงสินค้าที่ขาย
  2. ชื่อโดเมน ต้องสั้น จำง่าย และสื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์
  3. ต้องกำหนดรูปแบบโครงสร้างและโมเดลของธุรกิจให้ชัดเจน
  4. วางแผนการตลาดให้รัดกุม จากนั้นอย่ารอช้า! ลงมือสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เลย
  5. คู่ค้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
  6. ธุรกิจ e-Commerce ต้องมีเว็บไซต์, Facebook และ Line เป็นแค่ช่องทางสื่อสาร ไม่ใช่ทั้งหมดของธุรกิจ
  7. ซอฟต์แวร์ e-Commerce ที่จะเลือกใช้ ต้องรองรับการเติบโตของธุรกิจนะ
  8. จัดการคลังและสต๊อกสินค้าให้ดี มีสินค้าในจำนวนที่เหมาะสม มีระบบโลจิสติกส์ที่ไว้ใจได้
  9. ธุรกิจที่ดีต้องตรวจสอบได้ ต้องสามารถมอนิเตอร์ธุรกิจของคุณได้แบบเรียลไทม์
  10. สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรฐาน และเป็นมาตรฐานที่ลูกค้าประทับใจ

ข้อที่ 1 : ชื่อธุรกิจ/ชื่อแบรนด์ ต้องเรียกง่าย จำง่าย และสื่อถึงสินค้าที่ขาย

ธุรกิจ/ชื่อแบรนด์ ต้องเรียกง่าย จำง่าย และสื่อถึงสินค้าที่ขาย

เริ่มต้นที่การตั้งชื่อธุรกิจ ควรตั้งชื่อให้เรียกง่าย จดจำง่าย และสอดคล้องกับสินค้าออนไลน์ที่คุณจะขาย แต่ถ้าคุณยังทำบนพื้นฐานของธุรกิจเดิม สิ่งที่คุณควรใส่ใจจะกลายเป็นเรื่องชื่อของแบรนด์และภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้า

ข้อที่ 2 : ชื่อโดเมน ต้องสั้น จำง่าย และสื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์

ชื่อโดเมน ต้องสั้น จำง่าย และสื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์

ถัดมาคือชื่อโดเมนก็เป็นเรื่องที่สำคัญฝุด ๆ ชื่อควรสั้นและไม่เกิน 3 พยางค์ เรียกง่าย จำง่าย และต้องไม่ลืมไปจัดการเรื่องความปลอดภัยของชื่อโดเมนและเว็บไซต์ของคุณด้วยนะ และที่ต้องไม่ลืมคือไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เรียบร้อย เพราะคุณจำเป็นต้องมีตัวตนที่น่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ด้วย

ข้อที่ 3 : ต้องกำหนดรูปแบบโครงสร้างและโมเดลของธุรกิจ e-Commerce ให้ชัดเจน

ต้องกำหนดรูปแบบโครงสร้างและโมเดลของธุรกิจให้ชัดเจน

ต้องกำหนดรูปแบบโครงสร้างและโมเดลของธุรกิจให้ชัดไปเลยว่าธุรกิจคุณเป็น B2B (Business to Business) หรือ B2C (Business to Customer) หรือจะทำมันทั้ง 2 ทาง จากนั้นต้องมากำหนดกลยุทธ์ว่าจะขายให้ B อย่างไร จะขายให้ C อย่างไร และจะส่งเสริมการขายอย่างไรให้ได้ประโยชน์ทั้ง B และ C

ข้อที่ 4 : วางแผนการตลาดให้รัดกุม จากนั้นอย่ารอช้า! ลงมือสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เลย

วางแผนการตลาดให้รัดกุม จากนั้นอย่ารอช้า! ลงมือสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์เลย

ลงมือวางแผนการตลาดออนไลน์ หาช่องทางโปรโมทสินค้าตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณอาจสร้างเครือข่ายลูกค้าบน Fan Page ของธุรกิจ e-Commerce ก่อน เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดได้เลย ไม่ต้องรอ แถมยังเป็นการเช็คผลตอบรับในตลาดจริงได้อีกด้วย จากนั้นค่อยแนะนำให้กลุ่มที่สนใจเข้ามายังเว็บไซต์เมื่อทุกอย่างพร้อม

ข้อที่ 5 : คู่ค้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญ

คู่ค้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญ

คู่ค้าตัวจริงที่ใช่ต้องหาให้เจอ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต, ตัวแทนจำหน่าย, ผู้ให้บริการส่งสินค้า, ธนาคารหรือ Payment Gateway ที่สำคัญผู้พัฒนาระบบธุรกิจออนไลน์แบบมืออาชีพ เพราะพวกเขาเหล่านี้คือส่วนสำคัญในการอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจ หากเลือกผิดอาจน้ำตาตกได้ในภายหลังนะ จะหาว่าผมไม่เตือน

ข้อที่ 6 : ธุรกิจ e-Commerce ต้องมีเว็บไซต์, Facebook และ Line เป็นแค่ช่องทางสื่อสาร ไม่ใช่ทั้งหมดของธุรกิจ

ธุรกิจ e-commerce ต้องมีเว็บไซต์, Facebook และ Line เป็นแค่ช่องทางสื่อสาร ไม่ใช่ทั้งหมดของธุรกิจ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce Business) หรือ ธุรกิจออนไลน์ (Online Business) จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของธุรกิจเป็นรากฐาน คุณจะไปขายผ่าน Facebook หรือ Line ไม่มีใครว่า แต่ถ้าวันหนึ่งข้างหน้าเค้าอยากเปลี่ยนแปลงนโยบายอะไร คุณก็ต้องยอมรับในการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นนะ เพราะคุณยืมจมูกเค้าหายใจอยู่ แล้วจะรออะไรเล่าทำไมไม่สร้างฐานที่มั่นของคุณไว้ตั้งแต่วันนี้เลย

ข้อที่ 7 : ซอฟต์แวร์ e-Commerce ที่จะเลือกใช้ ต้องรองรับการเติบโตของธุรกิจ

ซอฟต์แวร์ e-commerce ที่จะเลือกใช้ ต้องรองรับการเติบโตของธุรกิจ

ต้องเลือก ระบบบริหารจัดการร้านค้าอีคอมเมิร์ซ หรือ e-Commerce Platform ที่ใช่ คุณต้องถามตัวเองว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า คุณมีเป้าหมายอย่างไร ขายได้หลักล้านหรือหลักร้อยล้าน คุณจะขยายธุรกิจไปในทิศทางไหน จากนั้นให้กลับมาพิจารณาที่ซอฟท์แวร์ที่คุณจะเลือกใช้ให้ละเอียดว่ามันรองรับการเติบโตของธุรกิจหรือไม่ และใครหรือบริษัทใดจะเป็นผู้พัฒนาซอฟท์แวร์อีคอมเมิร์ซนี้ให้คุณได้ทั้งในวันนี้ และอนาคตตามเป้าหมายที่คุณวาดไว้

ข้อที่ 8 : จัดการคลังและสต๊อกสินค้าให้ดี มีสินค้าในจำนวนที่เหมาะสม มีระบบโลจิสติกส์ที่ไว้ใจได้

จัดการคลังและสต๊อกสินค้าให้ดี มีสินค้าในจำนวนที่เหมาะสม มีระบบโลจิสติกส์ที่ไว้ใจได้

ลงมือจัดการกับระบบคลังสินค้า และปริมาณสินค้าในสต๊อก และต้องทำให้แน่ใจว่าคุณจะมีสินค้าในจำนวนที่เหมาะสม และมี ระบบจัดการโลจิสติกส์ ที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะสามารถส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าทุกรายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

ข้อที่ 9 : ธุรกิจที่ดีต้องตรวจสอบได้ ต้องสามารถมอนิเตอร์ธุรกิจของคุณได้แบบเรียลไทม์

ธุรกิจที่ดีต้องตรวจสอบได้ ต้องสามารถมอนิเตอร์ธุรกิจของคุณได้แบบเรียลไทม์

ธุรกิจที่ดีต้องตรวจสอบได้ คำว่าตรวจสอบได้ไม่ใช่เฉพาะเรื่องระบบบัญชีรับ-จ่ายและภาษีอากร แต่คุณจำเป็นต้องรู้ได้ทุกเรื่องทุกเวลา เพราะการที่คุณสามารถมอนิเตอร์ธุรกิจของคุณได้แบบเรียลไทม์นั้น จะช่วยให้คุณเข้าใจปัญหาและจัดการกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที

ข้อที่ 10 : สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรฐาน และเป็นมาตรฐานที่ลูกค้าประทับใจ

สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรฐาน และเป็นมาตรฐานที่ลูกค้าประทับใจ

ข้อสุดท้ายและเป็นข้อที่สำคัญที่สุด คุณต้องทำให้แน่ใจว่าธุรกิจ e-Commerce ของคุณได้ทำทุกอย่าง ๆ เป็นระบบและมีมาตรฐาน โดยที่คุณไม่ต้องแคร์หรอกว่าจะต้องไปหามาตรฐานอะไรมารับรอง เพียงแค่คุณต้องตระหนักเสมอว่ามาตรฐานที่ดีที่สุดของทุกธุรกิจคือมาตรฐานที่ลูกค้าส่วนใหญ่ประทับใจ

ครบ10 ข้อนี้เมื่อไร รับรองว่าธุรกิจ e-commerce ของคุณไปรุ่งแน่นอน

"เมื่อคุณมั่นใจว่าได้ปฏิบัติทั้ง 10 ข้อนี้แล้ว ก็ถึงเวลาเปิดเว็บไซต์ e-Commerce แล้ว
ออกไปลุยตลาดกัน รับรองว่าธุรกิจของคุณไปรุ่งแน่นอน"



บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจ e-Commerce

บทความแนะนำ

ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการคิดและวิธีการสร้างเว็บ e-commerce ในแบบฉบับทีเอ็นทีฯ เราขอแนะนำให้คุณผู้อ่านทุกท่านลองอ่าน
เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริง ขั้นตอนการสร้างซอฟต์แวร์ระบบและเว็บไซต์ e-commerce ให้ประสบความสำเร็จ

« Back to Result