เคล็ดไม่ลับแต่ประทับใจคนอ่าน (Killer Content ภาค 2)

7 สิงหาคม 2558
เคล็ดไม่ลับแต่ประทับใจคนอ่าน

การสร้าง killer content ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้ง่าย

คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจประกอบกับการใช้เทคนิคบางข้อที่อยู่ในบทความนี้มาประยุกต์ให้เหมาะกับตัวตนที่แท้จริงของคุณ และของแบรนด์

ผู้เขียนเชื่อว่าหากคุณเป็นนักขาย, นักการตลาด, หรือเจ้าของกิจการที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคดิจิตอลแล้วนั้น คุณไม่ควรพลาดบทความนี้อย่างยิ่ง

คุณจะต้องสร้างสิ่งที่ผู้อ่านต้องการเห็น (สิ่งที่พวกเขาสนใจและเป็นประโยชน์)

แทนที่คุณจะไปสร้างแต่สิ่งที่ใครๆ ก็เบื่อหน่ายและพยายามหลีกเลี่ยง (การอวดอ้างและโฆษณาชวนเชื่อ)

คุณจะต้องแสดงให้พวกเขาเห็น (ไม่ใช่แค่การบอก)

ว่าคุณมีวิธีการอย่างไรที่เข้าไปจัดการกับปัญหาของลูกค้าแต่ละรายและทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จได้ (ออกแนวดราม่านิดๆ คนอ่านชอบ)

เนื้อหาที่ดีจะต้องมีคุณค่า

เนื้อหาที่ดีจะต้องมี "คุณค่า" อยู่ในเนื้อแท้ของมันเอง

ที่ผู้อ่าน, ผู้ฟัง, หรือผู้ชมทุกคนจะสัมผัสถึงมันได้ เนื้อหาที่ดีจะมอบประสบการณ์ที่สนุกสนานแก่ผู้อ่าน "มันคือความบันเทิงอย่างแท้จริง" บางครั้งมันอาจทำให้ผู้อ่านหัวเราะหรือร้องไห้ บางครั้งมันก็ทำให้พวกเขาถึงกับลุกขึ้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากเรื่องราวของความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความหมายที่แท้จริงแอบแฝงอยู่ทั้งสิ้น

นักการตลาดที่เชี่ยวชาญในด้านการสร้าง killer content มักจะมองถึงการสร้างอารมณ์ร่วมของผู้อ่านมากกว่าการคาดหวังสิ่งอื่นจากผู้อ่าน

ส่วนประกอบต่างๆ ของเนื้อหาที่ดี

สรุปส่วนประกอบต่างๆ ของเนื้อหาที่ดี

เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงได้สรุปส่วนประกอบต่างๆ ของเนื้อหาที่ดีมาให้ผู้อ่านทุกท่านเห็นภาพกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น

  • พาดหัวเรื่อง

    ต้องกระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน เห็นแล้วต้องเกิดอารมณ์ร่วมทันที

  • บทนำ

    ด้วยข้อความเพียงไม่กี่ประโยคต้องทำให้ผู้อ่านไม่อาจละสายตาไปจากบทความนี้ได้

  • เนื้อหา

    ต้องเป็นประโยชน์และมีวิธีการหรือแนวทางการแก้ปัญหาให้แก่ผู้อ่านอย่างแท้จริง

  • จุดโฟกัส

    ต้องมีโฟกัสที่ชัดเจนเพียงเรื่องเดียว เพื่อไม่ทำให้ผู้อ่านสับสนหรือหลงประเด็น

  • เนื้อเรื่อง

    ต้องมีการเปรียบเปรยหรือการยกตัวอย่าง เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

  • ภาพประกอบ

    ต้องดึงดูด สวยงาม คมชัด สื่อความหมายที่สอดคล้อง หรือนำ infographic มาช่วยอธิบายเนื้อหายาวๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้น

  • บทสรุป

    ต้องมีการกระตุ้นให้ผู้อ่านต้องการทำบางสิ่งบางอย่างในสเต็ปถัดไป

ไม่มีคนกด Like หรือ Share

ถ้าหากคุณได้ลองลงมือทำไปแล้วและพบว่า แทบไม่มีคนกด “Like” หรือ “Share” บทความของคุณเลย

แม้แต่ “Google” ก็ยังรังเกียจบทความของคุณอีก (หาเท่าไรก็ไม่เจอ) หรือผู้อ่านก็ยังเข้ามาอ่านบทความของคุณ เพียงแค่ครู่เดียวหน้าเดียวหรือไม่กี่วินาทีก็ปิดเว็บทิ้งแล้ว

คุณคงต้องกลับมามองให้ลึกและทำความเข้าใจกับบทความของคุณอีกครั้งอย่างละเอียดว่าอะไรคือตัวการปัญหาที่ทำให้บทความนั้นมันไม่ดีอย่างที่คุณคาดหวัง

“โปรดจำไว้ว่า เนื้อหาที่ดีและควรค่าแก่การอ่านนั้น มันไม่ได้ถูกตัดสินที่ตัวผู้เขียน แต่เป็นผู้อ่านที่จะเป็นผู้ที่ตัดสิน”

คุณจะต้องเฝ้าดูผลลัพธ์ของมันอย่างใกล้ชิด

คุณจะต้องเฝ้าดูผลลัพธ์ของมันอย่างใกล้ชิด

นั่นหมายความว่า เนื้อหาที่ถูก “Liked” และ “Shared” หรือ “Comment” บนโซเชียลจะบอกให้คุณเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้อ่านมากยิ่งขึ้น จงอย่างได้ละความพยายาม จงเรียนรู้และปรับปรุงวิธีการนำเสนอ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปให้มากๆ หาลูกเล่นและแนวทางใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

แต่ถ้าผู้อ่านท่านใดได้ลองทำมาแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผลตามที่หวังไว้ ครั้งหน้าผู้เขียนจะมาล้วงลึกเรื่องวิธีการเขียน killer content แบบสเต็ปบายสเต็ป อย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะครับ

« Back to Result