ใครที่เคยพัฒนาเว็บหรือเคยจัดการกับเว็บอีคอมเมิร์ซ แต่ยังไม่ถือว่าประสบความสำเร็จมากมายนัก พวกเขาการันตีได้เลยว่า “การจัดการกับเว็บอีคอมเมิร์ซ มันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด”
ในขณะที่เจ้าของธุรกิจและผู้จัดการฝ่ายขายที่มากประสบการณ์ส่วนมาก มักคิดอะไรที่ผิดๆ เช่น แบบว่า เว็บอีคอมเมิร์ซ แค่สร้างขึ้นมาก็ไม่ใช่เรื่องยาก แค่ทำเว็บให้เสร็จแล้ววางสินค้าให้เต็มเชล จัดให้สวยหน่อยก็ถือว่าเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นก็แค่นั่งรอนับเงินรวย, รวย, รวย แล้ว ซึ่งคือ ความคิดที่ผิดมหันต์
แน่นอนว่า การที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตได้นั้น แปลว่าคุณจะต้องเคยทำอะไรที่ผิดพลาดมาก่อนแล้ว... ใช่มั้ย? และคงไม่ต้องพูดอะไรมาก เพราะนั่นแปลว่าคุณก็ต้องเคยลงทุนลงแรง เสียเวลา และสิ้นเปลืองพลังงานไปกับการทำกิจกรรมเพื่อพยายามขายสินค้าของคุณในแบบที่คุณแทบจะไม่ได้อะไรคืนมาเลย ไม่คุ้มค่าที่ลงทุนไปเลย จริงไหม
ด้วยเหตุนี้ เราก็ได้รวบรวมข้อผิดพลาด ที่เราเห็นเจ้าของเว็บอีคอมเมิร์ซ ทั้งมือใหม่- มือเก่า รวมถึงผู้จัดการเว็บเหล่านั้นมักทำกันให้เห็นอยู่บ่อยๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องไปเจอปัญหาแบบเดียวกันในเว็บอีคอมเมิร์ซของคุณ
ถ้าหากคุณกำลังคิดว่า “โห... 36 ข้อเลยหรอ!?” คุณควรจะรู้ไว้ก่อนเลยว่าลิสต์นี้ยังไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดเลยด้วยซ้ำ
เรื่องจริง คือ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะมาจำกัดจำนวนข้อผิดพลาด เมื่อเรา (หรือบริษัท) จะเข้าไปสู่โลกของ eCommerce เหมือนกับกฎของ Murphy ที่ว่าไว้ “อะไรก็ตามที่สามารถเกิดความผิดพลาดได้ ก็มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้อีกเสมอ”
เอาล่ะ เราไม่ได้มาขัดขวางไม่ให้คุณก้าวเข้าสู่โลกของ eCommerce เลยนะ แต่ในทางกลับกัน เราเพียงต้องการจะบอกให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับอุปสรรคในเส้นทางข้างหน้า ซึ่งคุณจะต้องเจอในขณะที่คุณกำลังขยับขยายกิจการอีคอมเมิร์ซของคุณ เพื่อให้สุดท้ายแล้ว อุปสรรคเหล่านี้ไม่ไปทำให้คุณยอมแพ้ก่อนที่คุณจะได้เริ่มต้นด้วยซ้ำครับ
พูดสั้น ๆ ก็คือ ถ้าคุณไม่ได้เป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ที่เก่งกาจ การจะสร้าง CMS โดยเริ่มต้นจากศูนย์ นั้นเป็นอะไรที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย และหากแม้ว่าคุณจะมีโปรแกรมเมอร์ที่เก่งขั้นเทพอยู่ในทีมก็ตาม การจะพัฒนา CMS เพื่อใช้เองก็ยังเป็นเหมือนฝันร้ายสำหรับคุณอยู่ดี
ในขณะที่คุณกำลังศึกษาและทำความเข้าใจถึงความผิดพลาดต่าง ๆ ในการสร้างเว็บอีคอมเมิร์ซนี้ มีหลายเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจ eCommerce นี้ ซึ่งผมอยากแนะนำว่า คุณไม่จำเป็นต้องมาเพิ่มเรื่องปวดหัวอย่างการพยายามจะสร้างโปรแกรม CMS เข้าไปอีกเรื่องเลย หากไม่นับว่าการจะทำแบบนั้นได้ คุณจะต้องใช้ความรู้เชิงลึกทางด้านเทคนิคการเขียนโปรแกรมแล้ว คุณเองก็อาจจะยังไม่แน่ใจเลยว่า CMS ที่คุณต้องการนั้นจำเป็นจะต้องมี features อะไรบ้าง
แน่นอนว่า eCommerce Platform ไม่ได้มีแค่ open-source หรือ CMS ที่วางขายเท่านั้น โปรแกรมมักถูกสร้างมาเหมือน ๆ กัน อย่างที่บอกไปแล้วว่า คุณอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า คุณเองต้องการ features อะไรบ้างใน CMS หรือ features ที่คุณต้องการใน CMS นั้นอาจถูกปรับเปลี่ยนไปเมื่อถึงเวลาที่คุณจำเป็นจะต้องขยายธุรกิจ ดังนั้นคุณไม่ควรเลือก CMS แบบส่งเดช อะไรก็ได้แล้วก็ใช้งานมันไปโดยคิดเพียงแค่ว่า CMS ไหน ๆ มันก็คงเหมือน ๆ กัน คงไม่แตกต่างกันมากมาย
ผมขอเตือนไว้ตรงนี้เลยว่า ในการบริหารธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สิ่งที่คุณไม่อยากเจอที่สุด คือ การที่คุณได้ทำเว็บไซต์ไปแล้ว และมารู้ที่หลังว่าโปรแกรมหลังบ้านหรือ CMS ที่คุณเลือกใช้นั้นยังขาด features สำคัญ ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานในแบบที่คุณต้องการ แถมยังเป็น features ที่จำเป็นต่อการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณในอนาคตอีกด้วย ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้น ซึ่งคุณจะต้องมานั่งเสียเวลา เสียเงินค่าพัฒนาระบบกันใหม่อีกรอบ และต้องสิ้นเปลืองพลังงานของคุณโดยไม่จำเป็นเพื่อย้าย Platform อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และแน่นอนว่าถ้าหากคุณเลือกใช้ CMS แบบเช่าใช้บริการบนคลาวด์ หรือ แบบทำสัญญาเช่าใช้ระบบ CMS แบบรายปี คุณก็จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรทันทีเลยไม่ได้ เพราะติดสัญญาเก่าอยู่
ตัวอย่างข้อมูลเปรียบเทียบ eCommerce Platform เพื่อให้คุณได้เห็นภาพดียิ่งขึ้น
ในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจ eCommerce คุณไม่ใช่แค่ต้องรับผิดชอบเฉพาะข้อมูลฝั่งบริษัทของคุณเท่านั้น แต่คุณจะต้องให้ความสำคัญมาก ๆ กับเรื่องความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าของคุณด้วย
เป็นเรื่องปกติทั่วไปอยู่แล้วที่คุณต้องการที่จะให้ข้อมูลทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวข้องกับธรุกิจของคุณนั้นปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันคุณก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าของคุณด้วย เพื่อให้คุณเองไม่ต้องมากังวลกับเรื่องนี้ตลอดเวลา
ถึงอย่างนั้นแล้ว คุณก็ต้องมั่นใจว่าโปรแกรมระบบ CMS ที่คุณเลือกใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบเช่าใช้รายเดือน/รายปี เค้ามีการรับประกันเรื่องความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงมีมาตรการการป้องกันความปลอดภัยต่อช่องโหว่และการแฮกต่าง ๆ ด้วย
จำเป็นอย่างยิ่ง
“อย่าเลือกผิด” เพราะถ้าหากพลาดในเรื่องความปลอดภัย ของข้อมูลทั้งของคุณเองหรือของลูกค้าแล้วละก็ อาจเกิดปัญหาใหญ่ตามมาแน่ ๆ และอาจจะหนักหน่วงถึงขั้นเสียชื่อเสียงบริษัทหรือโดนฟ้องร้องจนล้มละลายได้กันเลยทีเดียวนะ
ถ้าหากว่า คนที่เข้ามาที่หน้าแรกในเว็บของคุณแล้ว ยังงงๆ หรือยังรับรู้สิ่งที่คุณต้องการสื่อสารไม่ได้ สิ่งที่เขาจะทำถัดไป คือ เขาจะกด Back กลับ และไปหาสิ่งที่เขาต้องการในเว็บอื่นต่อทันที
ลองดูที่หน้าเว็บของ MTS Blockchain ถ้าหากคุณไม่รู้จักว่า MTS Blockchain มาก่อนว่าคืออะไร หรือทำธุรกิจอะไร แค่เข้าไปที่หน้าเว็บก็พอจะรู้แล้วว่า MTS Blockchain ทำอะไร ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนเพื่อเก็งกำไร หรือว่าคนที่ต้องการซื้อทองเพื่อสะสม หน้าที่หลักของหน้าเว็บของคุณ คือ ดึงความสนใจและโน้มน้าวให้คนที่เข้าเว็บ เข้าไปดูข้อเสนอต่าง ๆ ของคุณ เพราะถ้าคุณไม่ทำ คู่แข่งของคุณเค้าทำแน่นอน
แม้ว่าการออกแบบและการใช้ข้อความจะเป็นคนละเรื่องกัน แต่เมื่อทั้งสองสิ่งนี้ถูกนำมารวมกันในหน้า homepage ของคุณ นั่นหมายความว่าทั้งสองอย่างนี้จะต้องทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว
ในทางกลับกัน หากเว็บไซต์ของคุณมีการออกแบบที่ดีแต่ดันไปใช้ข้อความที่ไม่สอดคล้องกัน หรือไม่ได้ช่วยส่งเสริมกันและกัน นั่นอาจทำให้เว็บไซต์ของคุณดูไม่น่าดึงดูดใจสำหรับผู้คนที่เข้าไปเยี่ยมเว็บให้อยากเข้าไปดูเนื้อหาด้านในต่อแน่นอน
และแม้หัวข้อจะดูใกล้เคียงกับในข้อที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โจทย์สั้น ๆ คือ ในภาพรวมทั้งหมดของหน้า homepage คุณจะต้องสร้างสมดุลทั้งการใช้ข้อความ แบบฟอนต์, ขนาดของฟอนต์, จำนวนคำที่ใช้, รูปภาพ และไฟล์มัลติมีเดียที่คุณนำมาประกอบทั้งหมด คุณจะต้องออกแบบและจัดวางทั้งหมดอย่างลงตัว
ในเมื่อเป้าหมายของคุณ คือ ต้องการให้ลูกค้าที่มาถึงหน้า homepage แล้ว อยากเข้าไปดูเนื้อหาข้างในเว็บต่อไปจนทั่วทั้งเว็บไซต์ ดังนั้นเรื่องจำเป็นที่คุณจะต้องทำ คือ การทำให้เว็บไซต์ของคุณนั้นง่ายสำหรับการนำทางพวกเค้าไปยังที่ ๆ คุณอยากให้พวกเค้าไปถึงด้วย
ดูอย่างหน้า homepage ของ Home Science Tools เป็นตัวอย่าง ในขณะที่หน้าตาอาจจะดูแน่น ๆ ไปบ้าง แต่คนที่เข้ามา ที่ต้องการจะดูสินค้าเฉพาะเจาะจง จะสามารถเข้าไปตามหมวดหมู่ได้อย่างถูกต้อง
ธรรมชาติของ eCommerce คือ คุณไม่สามารถจะมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับคนที่เข้ามาในเว็บไซต์ของคุณได้ ถ้าหากว่าเขาไม่ตั้งใจเข้ามาเพื่อจะมาคุยกับคุณ (ไม่เหมือนกับร้านค้าที่บรรดาพนักงานขายสามารถเข้าหาลูกค้า เวลาลูกค้าเข้ามาในร้านได้)
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่เข้ามายังหน้าเว็บของคุณจะอยากมาซื้อสินค้าในเว็บของคุณทุกคน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะปล่อยให้พวกเขาออกจากหน้าเว็บของคุณไปได้ง่าย ๆ เช่นกัน คุณจึงควรที่จะหาทางเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายของคุณให้ได้มากที่สุด เท่าที่คุณจะทำได้
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Lightbox Overlay แบบนี้
หรือวิธีการดักลูกค้าง่าย ๆ ที่หน้า homepage แบบนี้
มันเป็นอะไรที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องใส่ฟอร์มเหล่านี้ไว้ในหน้า homepage เพื่อที่จะดักเก็บข้อมูลของคนที่อาจจะกลายเป็นลูกค้าของคุณในอนาคต เพราะวิธีนี้จะช่วยให้คนที่อาจจะยังไม่ได้สนใจซื้อสินค้าของคุณในตอนนี้ แต่อาจกลับมาสนใจอยากจะรู้ข้อเสนอของคุณในวันข้างหน้าก็สามารถที่จะกรอกอีเมลเพื่อสมัครรับข่าวสารของคุณได้
แต่อีกมุมหนึ่ง ถ้าหากเว็บของคุณมีฟอร์มแบบนี้เยอะเกินไปในหน้า homepage ก็อาจจะเป็นการรบกวนความสนใจ หรืออาจถึงขั้นที่ทำให้รำคาญได้ และก็อาจถึงขั้นหนีออกจากเว็บของคุณไปแล้วไม่กลับมาอีกเลยก็ได้นะ
กับประเด็นนี้ คงไม่ต้องพูดอะไรเยอะ เพราะว่าหน้า homepage ของคุณ จะต้องไม่มีอะไรแปลก ๆ เช่น error หรือ bug ออกมาให้คนที่เข้ามาในเว็บไซต์เห็นเป็นอันขาด
นั่นหมายความว่า
เรื่องยังไม่จบแค่นี้นะครับ ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านข้อผิดพลาดที่เกี่ยวกับหน้าแบ่งหมวดหมู่สินค้าและหน้ารายละเอียดสินค้าได้ในภาคที่ 2 หรือกลับไปยังลิสต์ทั้ง 36 ข้อด้านบนเพื่อดูหัวข้อทั้งหมดอีกครั้ง และใช้เป็นทางลัดไปยังข้อผิดพลาดที่ต้องการอ่านได้นะครับ